วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

กรรมวิธีผลิตเครื่องหอม


วิธีการทำเครื่องหอม
 สามารถทำได้ 3 วิธี  คือ การอบ การร่ำ และการปรุง
              การอบ หมายถึง การนำมาปรุงกลิ่นด้วยควัน หรือนำมาปรุงกลิ่นด้วยดอกไม้หอม การอบให้มีกลิ่นหอมเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง กลิ่นหอมจะซึ่งเข้าไปในของที่นำไปอบ โดยวัตถุที่ต้องการให้มีกลิ่นนั้น อยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท จะอบด้วยเทียนอบ หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีกลิ่นแรง มักจะไม่ใช่ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเลี่ยน ๆ หรือที่มีกลิ่นเปรี้ยว
    1. การอบ ดอกไม้มี 2 ชนิด คือ การอบน้ำ และการอบแห้ง
               การอบน้ำ คือ การลอยดอกไม้บนน้ำ เช่น อบน้ำสำหรับรับประทาน อบน้ำเชื่อมอบน้ำสรง 
การอบดอกไม้บนน้ำควรปฏิบัติดังนี้
        -     ไม่ควรนำดอกไม้ใส่ลงภาชนะให้เต็ม ควรเว้นที่ว่างไว้ เพราะกลิ่นของดอกไม้จะได้ลงถึงน้ำ
        -     ควรใช้ภาชนะที่มีลักษณะปากกว้าง ตื้น มีฝาปิด เวลาอบใส่น้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ความหอมทั่วถึง
        -     ควรวางภาชนะให้เข้าที่เสียก่อนแล้วค่อยใส่น้ำ เวลานำดอกไม้ลงลอยน้ำจะต้องนิ่งแล้วจึงลอยดอกไม้เบาๆ 
              ถ้าน้ำกระเทือนจะทำให้เข้าดอกไม้ช้ำได้ ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นเขียว ดอกไม้ประเภทที่มีกลีบบาง เช่น                             ชำมะนาด จันทน์กะพ้อ สารภี พิกุล ควรใส่จอกหรือภาชนะเล็กๆ ลอยไว้เพื่อป้องกันการเกิดกลีบดอกช้ำ
       -      ดอกไม้ที่ลอยน้ำ ควรลอยตามเวลาที่ดอกไม้บาน ไม่ควรแช่ทิ้งไว้นานเพราะหัวน้ำหอมลงอยู่ใน
               น้ำหอมแล้วการอบดอกไม้บางชนิด อบได้นาน 6 – 8 ชั่วโมง เช่น กุหลาบมอญ พิกุล ลำเจียก
              ชำมะนาด ราตรี ดอกแก้ว พุทธชาด กระดังงา ดอกไม้บางชนิดลอยได้ ประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง เช่น
              ดอกลำดวน ขจร สารภี ส่าเหล้า กรรณิการ์ ฉะนั้น การลอยดอกไม้ควรลอยเวลาค่ำและนำขึ้น       
              ตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
        -     การลอยดอกไม้เพื่อให้กลิ่นหอม ควรทำการศึกษาว่า ดอกไม้ชนิดใดบานในเวลาใด เช่น
        -     ดอกมีที่บานเวลาเช้ามืดจะส่งกลิ่นเวลาประมาณ05.00 – 06.00 น. คือ ดอกพิกุล ดอกสารภี
              ดอกจำปาดอกสายหยุด ดอกจันทน์กระพ้อ
        -    ดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น เวลาประมาณ 18.00 น. ได้แก่ ลำเจียก มะลิ พุทธชาด ดอกส้ม ลำดวน
        -    ดอกไม้ที่บานเวลาค่ำ เวลาประมาณ 19.00 น. ได้แก่ ดอกชำมะนาด ดอกขจร ดอกกรรณิการ์
              ฉะนั้น ดอกไม่ที่ออกกลิ่นเวลาใด ต้องคอยอบเวลานั้น พอหมดกลิ่นรีบเอาออกก่อนที่ดอกไม้จะช้ำ
        -     ดอกไม้ที่จะนำมาอบถ้ามีต้น ก็เกิดใช้ในเวลาที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าซื้อตอนเช้า เพราะยังพรมน้ำจาก
              จะทำให้กลิ่นหอมของดอกไม้หมดไป และดอกไม้จะช้ำ เรียกว่า ดอกไม้สำลักน้ำ
               การอบแห้ง คือ การวางดอกไม้ไว้บนขนมหรือสิ่งของต่างๆ ควรจะใช้ภาชนะเล็ก ๆ วางไว้บนของที่อยู่ในโถ ปิดให้สนิท การอบแห้งควรอบตามเวลาดอกไม้บาน เมื่อถึงตอนเช้าควรเอาดอกไม้ออก ถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้กลิ่นเสีย
               วิธีใช้ดอกกระดังงาดอกไม้ชนิดอื่นพอเก็บก็นำมาอบได้เลย แต่ดอกกระดังงาจะต้องนำมาอบควันเทียนเสียก่อน บางครั้งรียกว่า กระดังงาลนไฟจากหนังสือ เครื่องหอมและของชำร่วย ของคุณโสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้กล่าวถึงวิธีการลนไฟไว้ว่า โดยใช้มือรวบปลายกลีบดอกแล้วนำคั่วดอกลนไฟให้ตายนึ่งเวลาจะปลิดกลีบดอกออกจากดอก ใช้มือขับที่กระเปาะดอกให้กลับร่วงจะทำกลิ่นหอมแรงกว่าปลิดทีละกลีบ แล้วฉีกแต่ละกลีบตามแนวยาว กลีบละ 2 – 3 เส้น การใช้เทียนอบ เทียนอบใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้จะต้องจุดไส้เทียนให้ไหม้ถึงตัวเทียน เนื่องจากกลิ่นหอมอยู่ที่ตัวเทียน เทียนอบที่ใช้แล้ว เก็บไว้นาน ๆ ไส้เทียนแข็ง จะต้องจุดไฟก่อนเพื่อให้ไส้เทียนอ่อนตัว
              
             การร่ำ หมายถึง การอบกลิ่นหอมหลายอย่าง และทำโดยภาชนะเผาไฟแล้วใส่เครื่องหอม เพื่อให้เกิดควันที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมของยางไม้ กลิ่นน้ามัน กลิ่นเนื้อไม้ ฯลฯ การร่ำเครื่องหอมต้องใช้ภาชนะที่สำคัญ คือ โถกระเบื้อง การที่จะร่ำต้องใส่ทวนไว้ตรงกลางโถ นำตะคันเผาไฟให้ร้อน แล้วนำไปวางไว้บนทวน
         
             การปรุง หมายถึง การรวมของหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน ในกรณีการปรุงเครื่องหอม คือ การนำแป้งพิมเสน หัวน้ำหอม ชะมดเช็ด มาบดผสมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปปรุงกับน้ำอบไทย หรือเครื่องหอมอื่น ๆ แต่มีข้อสังเกตตรงที่ว่าการที่จะใส่หัวน้ำหอมชะมดเช็ด จะต้องบดแป้งนวล หรือแป้งหินเสียก่อนเพื่อให้แป้งซับน้ำมันให้หมดแล้วจึงนำไปผสมหรือกวนในน้ำต่อไป เช่น การทำน้ำอบไทยจะต้องอบร่ำและปรุงจึงถือได้ว่าประสบความสำเร็จในการทำน้ำอบไทย 

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ประเภทของเครื่องหอมไทย

เครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่น
           เป็นวิธีการปรุงเครื่องหอมแบบไทย ๆ ที่มีสืบต่อกันมานานตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่ แต่จะหาได้ยากยิ่งนักที่จะเป็นการปรุงเครื่องที่ถูกวิธี ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องปรุงในการทำเครื่องหอมประเภทปรุงกลิ่นมักจะเป็นพืชสมุนไพร หรือสิ่งที่มาจากธรรมชาติ เช่น ลำเจียก ดินสอพอง แก่นจันทน์เทศ ขี้ผึ้ง พิมเสน ชะมดเช็ด ฯลฯ หรือแม้แต่กระทั่งพืชสมุนไพร ผลหมากรากไม้ที่หาได้ง่ายที่ริมรั้ว เช่น ใบเตยหอม มะกรูด ดอกมะลิ กระดังงา กุหลาบ ฯลฯ ส่วนด้านในของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก็หาได้จากในครัวแบบไทย ๆ ของเราเอง เช่น ขวดโหล โถกระเบื้อง ผ้าขาวบาง กระบวยตักน้ำ เตาอั้งโล่ เทียนอบ เป็นต้น ซึ่งเครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่นที่เป็นที่นิยมและน่าสนใจในวิธีการปรุง อุปกรณ์ และวัตถุดิบ เช่น น้ำดอกไม้สด น้ำอบไทยไม่ใช้ดอกไม้สด ผ้าชุบน้ำอบอย่างเปียก น้ำปรุง ออดิโคโลณจน์ และน้ำหอม โดยเครื่องหอมชนิดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีวิธีการปรุงที่สลับซับซ้อน ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างมากในทุกขั้นตอนทุก ๆ ขั้นซึ่งหากสนใจจะศึกษาวิธีการปรุงก็คงไม่ยากเกินมือของคนไทยที่จะทำของไทย ๆ ใช้เองในครัวเรือน จากการศึกษาและค้นคว้ามาจากหนังสือเครื่องหอมไทยและของชำร่วยโดยผู้แต่งกล่าวถึงการทำเครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่นไว้ดังนี้
น้ำดอกไม้สด
น้ำดอกไม้สดนั้นเป็นที่นิยมกันมานาน ใช้ดื่ม เช่น น้ำลอยดอกมะลิสำหรับสำหรับดื่ม ทำน้ำเชื่อม ปรุงส่วนผสมของขนม ใช้ล้างมือ มือสำหรับเจ้านายใช้สรงน้ำ
น้ำอบไทยดอกไม้สด
น้ำอบไทยเป็นเครื่องหอมที่สำคัญที่สุด ในกระบวนการทำเครื่องหอม เพราะน้ำอบไทยมีประโยชน์หลายอย่างอย่าง ใช้ผสมทำแป้งร่ำ ทำกระแจะเจิมหน้า ผสมกับดินสอพองแป้งหินแป้งร่ำทาตัวยามร้อน แก้ผดผื่นคัน และทำให้หอมชื่นใจ ผสมทำบุหงาสด สรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ และใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้ตามประสงค์
น้ำปรุง
น้ำปรุงเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่ง ที่มีกลิ่นหอมเย็นให้ความรู้สึกแบบไทย ๆ ชวนให้รำลึกถึงอดีตที่น่าภูมิใจว่า สตรีในสมัยโบราณนอกจากจะมีการประแป้งแต่งตัว ลูบตัวด้วยน้ำอบน้ำปรุง แต่มาบัดนี้ สตรีส่วนใหญ่รู้จักแต่น้ำหอม ออดิโคโลญจน์ มาแทน
ออดิโคโลญจน์
ใช้ทาตัวในหน้าร้อนทำให้เย็น และหอมชื่นใจ บางครั้งผสมน้ำชุบผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู ใช้เช็ดหน้าทำให้สดชื่นขึ้น ออดิโคโลญจน์ มีหลายกลิ่น แต่เสนอเพียง 1 กลิ่น
น้ำหอม
น้ำหอมสามารถเลือกและปรุงกลิ่นได้ในปัจจุบัน ร้านขายผลิตภัณฑ์เครื่องหอมมีกลิ่นหอมที่ให้เลือกมากมาย หรือถ้าสนใจต้องการกลิ่นหอมที่แปลกออกไป จะสามารถซื้อหัวน้ำหอมแล้วนำมาปรุงกลิ่นผสมได้ตามต้องการ

เครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉม

            เครื่องหอมไทยมีแตกต่างกันหลายชนิดออกไปแล้วแต่ลักษณะการนำไปใช้และกรรมวิธีการผลิตที่มีการนำเอาพืชหอมธรรมชาติที่มีอยู่ในเมืองไทยมาผ่านกรรมวิธีต่างๆและประยุกต์ให้เข้ากับยุกต์สมัยเป็นความคิดที่มีมานานตั้งแต่สมัยก่อนโดยการนำเอาความบริสุทธิ์จากธรรมชาติมาจรรโลงให้เข้ากับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉมนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ดินสอพอง แป้งหอม แป้งผงกลิ่นไทย แป้งร่ำ แป้งเกสรดอกไม้ แป้งพวง เครื่องหอมไทยนี้เป็นการนำมาจากธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีการเจือปนด้วยสารสังเคราะห์หรือสารเคมีทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เป็นภูมิปัญญาของคนไทยสมัยโบราณที่ทุกวันนี้เริ่มจะจางหายด้วยสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ที่สังเคราะห์ขึ้นมาแทนที่ ในส่วนของกรรมวิธีในการทำก็มีแตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบว่าเราจะต้องการเมื่อมีวิธีการทำก็ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำซึ่งสามารถหาได้ง่าย จากการที่ได้ศึกษาและค้นคว้ามาจากหนังสือเครื่องหอมไทยและของชำร่วยโดยผู้แต่งได้กล่าวถึงการทำเครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉมไว้ดังนี้
ดินสอพอง
สมัยโบราณใช้เป็นเครื่องประทินผิว ทาตัวเด็กแก้ผื่นคัน ใช้ทาพื้นที่ลงรักให้เห็นลายชัดเจน ดินสอพองที่ใช้ทำยาจะนำไปสะตุ โดยอบในหม้อดินจนแห้ง ดินสอพองสะตุใช้ทำยารักษาแผลกามโรค แผลเรื้อรัง คำว่าสอในดินสอพองนั้นมาจากภาษาเขมรแปลว่าขาว ดินสอพองจึงหมายถึงดินสีขาวที่ไม่แข็งตัว
แป้งร่ำ
เป็นแป้งหินหรือแป้งนวลที่ผสมเครื่องหอมด้วยกรรมวิธีดั้งเดิม เพื่อใช้ผสมกับน้ำอบ ทำเป็นแป้งกระแจะใช้ในการเจิม หรือใช้ทาผิวหลังอาบน้ำ ใช้ผัดหน้า ทาตัว ทำให้หอมสดชื่น
แป้งพวง
เป็นศิลปะอย่างหนึ่งของคนไทย โดยนำแป้งร่ำมาหยอดบนเส้นด้ายแล้วนำมารวมกันเป็นพวง และนำแป้งเหล่านั้นมาผูกกับดอกไม้ นำมาใช้ทัดหู แต่งผม ปักมวยผม จะได้กลิ่นหอม สวยงาม ใช้เป็นของชำร่วยและใช้ติดเสื้อได้อีกด้วย
แป้งเกสรดอกไม้

แป้งเกสรดอกไม้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามความประสงค์ของผู้ปรุง บ้างก็เรียกแป้งสารภี แป้งพิกุล ขึ้นอยู่กับผู้ปรุงมีความประสงค์ต้องการกลิ่นใดนำ

แหล่งที่มาของเครื่องหอม

           แหล่งที่มาของเครื่องหอม
1. ของหอมจากธรรมชาติ
       1.1 จากสัตว์ สัตว์ที่ให้กลิ่นหอมซึ่งนำมาใช้ในการทำเครื่องหอมได้มีอยู่ 4 ชนิด คือ
              - AMBERGRIS
              - CASTOREUM
              - CIVET
              - MUSK
       1.2 จากพืช ได้จากดอก เปลือก เมล็ด และอื่น ๆ
2. ของหอมจากสารสังเคราะห์ (AROMATIC CHEMICAL COMPOUND)


      ของหอมจากสัตว์
             1.   AMBERGRIS
           AMBERGRIS เป็นสัตว์วัตถุได้จากมูลของปลาวาฬพันธุ์สเปิร์ม แหล่งที่มาของ AMBERGRIS เกิดจากสารซึ่งหลั่งออกมาจากปลาวาฬสเปิร์ม เป็นของเหลวที่ขับออกมาจากลำไส้ของปลาวาฬและของเหลวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือเมื่ออยู่ในน้ำมันจะอ่อนนุ่ม แต่เมื่อพ้นน้ำมาอยู่ในที่ที่มีลมโกรกจะกลายเป็นของแข็งเรียก อำพันมูลปลามีสีขาว สีดำ สีเทา และถือกันว่า อำพันปลาสีเทาเป็นอำพันปลาที่ดีที่สุดราคาแพงมาก โดยจะให้สารที่มีความหอมคือAMBERGRIS ร่วมกับ BENZOLC ACID และสารอื่นเช่น CHOLESTEROL และ FATTY OILระเหยง่ายเมื่อถูกความร้อน ติดไฟเมื่อเผา และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวติดทนนาก ประโยชน์ของ AMBERGRIS ใช้สกัดทำสารตรึงกลิ่นในเครื่องหอมต่าง ๆ      
              2.   CASTOREUM
           เป็นสารที่หลั่งออกมาจากกะเปาะใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ของบีเวอร์ เป็นน้ำหอมจากต่อมในไข่ดัน กลิ่นของ CASTOREUM เมื่ออยู่ในสภาพที่เข้มข้น จะมีกลิ่นแรงไม่ชวนดม จะมีกลิ่นหอมเมื่อได้รับการเจือจาง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นตัวทำให้หอมติดทนนานในน้ำหอมที่มีกลิ่นฉุนเช่น กลิ่น CHYPRE BOUQUET 5 ประโยชน์ของ CASTOREUM ใช้เป็นตัวตรึงกลิ่นให้หอมติดทนในน้ำหอมใช้ผสมในน้ำยาขัดเครื่องหนัง
              3.    CIVET –ชะมดเช็ด,ชะมด
          เป็นน้ำมันที่ขับถ่ายจากกะเปาะของต่อมคู่ใกล้เคียงกับอวัยวะสืบพันธุ์ของชะมดทั้งเพศผู้และเพศเมีย ชะมดเช็ดมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ดีโตน ที่เรียกว่า ZIBETONE ซึ่งเป็นสารที่สำคัญ ใช้ตรึงกลิ่นในหัวน้ำหอม ชะมดอีกอย่างหนึ่งมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า ชะมดเชียง (MUSK) ซึ่งได้มาจากต่อมที่อยู่ใต้ท้องชะมดที่เป็นตัวผู้เท่านั้น ประโยชน์ของชะมดเช็ด ใช้ผสมทำน้ำปรุง น้ำอบไทย ใส่ในยาหอม แก้ลม หรือผสมในยาสูบจะทำให้ยาสูบมีกลิ่นดี
              4.   MUSK
          เป็นสิ่งขับถ่ายที่ได้จากกะเปาะข้างๆอวัยวะสืบพันธุ์ของกวางชะมดตัวผู้ MUSK มีลักษณะหนืดคล้ายน้ำผึ้ง มีสีน้ำตาลปนแดงอยู่ในกะเปาะที่เป็นถุงหนัง เมื่อแห้งจะเป็นเกล็ดและมีสีน้ำตาลดำ ส่วนประกอบที่สำคัญคือ CHLESTROL,FAT,WAX,ALBUMIN และสารให้กลิ่นซึ่งเป็นสารให้กลิ่นซึ่งเป็นสารพวก KETON ที่เรียกว่า MUSCONE ประโยชน์ของ MUSK เป็นตัวตรึงกลิ่นให้หอม ทำให้เครื่องหอมมีกลิ่นทนนาน ทำน้ำปรุงน้ำอบไทย บุหงาแห้ง ฯลฯ

       ของหอมจากพืช
กลิ่นหอมที่ได้จากพืชมี 2 ลักษณะคือ
        - กลิ่นหอมสกัดเป็นหัวน้ำหอม (ESSENTIAL OIL)
        - จากยางของไม้ (RESIN,GUM,EUSEDTALES)
ของหอมที่ได้จากส่วนต่างๆของพืชจะได้จาก
       1. ดอก เช่น ดอกกุหลาบ คาร์เนชั่น มะลิ จำปา กระดังงา จันทร์กะพ้อ พิกุล ชำมะนาด ลำเจียก เป็นต้น
       2. ใบ เช่น ใบส้ม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบมินท์
       3. เมล็ด เช่นลูกจันทร์ พริกไทยดำ
       4. เปลือกลำต้น เช่น อบเชย ชะลูด
       5. ราก หรือ เหง้า
       6. ทั้งลำต้นและใบ เช่น ไม้จันทน์ กฤษณา ซีดาร์
       7. ยางไม้ เช่น หนาด กำยาน
ลักษณะ คุณสมบัติ และประโยชน์ของพันธุ์ไม้หอม
             พันธุ์ไม้หอมที่นำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของเครื่องหอม มีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดให้ความหอมต่างกันออกไป ตามลักษณะคุณสมบัติพันธุ์ไม้นั้น ๆ

ของหอมจากสารสังเคราะห์
              เป็นเครื่องหอมที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นจากสารเคมี และผสมผสานให้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เช่น ดอกมะลิ (JASMINE) ทำจากน้ำมันดำจากถ่านหิน (COAL TAR) กลิ่นกุหลาบก็เช่นเดียวกัน ทำจากน้ำมันดำจากถ่านหินและแอลกอฮอล์กับน้ำมันดอกหญ้า (CITRONELLA) กลิ่นคาร์เนชั่นทำจากน้ำมันไม้ (CLOVE)

การเปลี่ยนแปลงของน้ำหอม หัวน้ำหอมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งกายภาพทางเคมี และทางเภสัชวิทยา  ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมันหอมเป็นสารที่ไวต่อแสง อุณหภูมิอากาศ เมื่อหัวน้ำหอมถูกแสงนานจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม กลิ่นจะเปลี่ยนไป การป้องกันไม่ให้เสื่อมสภาพ ต้องเก็บไว้ในที่มืดหรือเก็บในขวดที่ป้องกันแสงแดดได้ดีปิดฝาให้สนิท

ประวัติเครื่องหอม

ประวัติของเครื่องหอม
              ความหอมเป็นมนต์เสน่ห์สำหรับมนุษย์ ผู้ที่ชื่นชมหลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง ในทุกระดับชนชั้นต่างหาสิ่งหอมมาประทินผิวกาย เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ตนเองและผู้ชิดใกล้  ในรูปลักษณะที่แตกต่างกันออกไปอาทิ หาดอกไม้มาแซมผม นำความหอมของไม้ยางมาปรุง อบร่ำในเสื้อผ้า อาหาร ทาผิวกาย เครื่องหอมต่าง ๆ ของไทยมีมาแต่โบราณกาลโดยทำขึ้นมาใช้เองจากวัสดุและสมุนไพรหอมที่ปลูกในเมืองไทย และสืบทอดต่อ ๆ มาตามคำบอกเล่า มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรใด ๆ
              จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องหอมใน ENCYCLOPAEDIA หลายเล่ม ไม่มีการบันทึกการสกัดน้ำหอมจากดอกไม้ว่า เริ่มตั้งแต่เมื่อใดนอกจากจะกล่าวถึงสมัยโบราณ มนุษย์เผาไม้หอมบางชนิดที่มียางและมีกลิ่นหอมในพิธีทางศาสนา ปรากฏว่ากลิ่นที่ลอยมากับควันอันอบอวลอยู่ในบริเวณงาน ได้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ พวกเขายังเอาของเหลวที่ไหลซึมออกมาจากไม้ที่เผา มาจุ่มน้ำและน้ำมันแล้วนำมาลูบถูตามร่างกายทำให้กลิ่นหอมติดตัวทนนาน ณ จุดนี้เป็นที่มาของน้ำหอมฝรั่งเศส ตั้งชื่อเครื่องหอมผ่านควันไฟนี้ว่า PERFUME ซึ่งมาจากภาษาลาตินสองคำคือ PER แปลว่า THROUGH หรือ ผ่าน และ FUME แปลว่า SMOKE หรือควัน
              ชาวอียีปต์ได้ค้นพบเครื่องหอมนี้กว่า 3 พันปีล่วงมาแล้วในสมัยฟาโรห์ ต่อมาพวกกรีกและโรมันเรียนรู้เครื่องหอมจากอียีปต์ และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12พวกคริสต์เตียนที่มาทำสงครามศาสนา (CRUSADERS) ได้นำเครื่องหอมจากดินแดนปาเลสไตน์ ไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส จากนั้นไม่นานจึงได้มีการค้าขายเครื่องเทศและเครื่องหอมกันอย่างกว้างขวาง ระหว่างตะวันออกกับยุโรป และในศตวรรษที่ 15 น้ำหอม ( PERFUME) กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในยุโรป
              แต่หลักฐานบางตำราอ้างว่า ในสมัยโบราณชาวจีน ฮินดู อียิปต์ อิสราเอล อาหรับ กรีก และ โรมัน ได้รู้จักและเรียนรู้ศิลปะของการทำเครื่องหอมมานานแล้ว แม้ในคัมภีร์ไบเบิลก็ปรากฏว่ามีสูตรของการทำน้ำหอมอยู่ด้วย
              เครื่องหอม ของหอม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเครื่องสำอางทุกชนิด ยกเว้นเครื่องสำอางของผู้เป็นโรคภูมิแพ้ ผิวหนังแพ้ง่ายจำเป็นจะต้องใช้เครื่องสำอางพวก NON-ALLERGENIC ซึ่งผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ

ประวัติเครื่องหอมของไทย
            ไม่ปรากฏว่าได้นำมาใช้ตั้งแต่ยุคใดสมัยใด เพียงแต่คำบอกเล่ากันมาว่าทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณและสันนิฐานได้ว่า น่าจะเรียนรู้มาจากชาวจีนและอินเดีย ส่วนน้ำหอม (perfume) ได้เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยหลังสงครรามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคุณลาวัลย์ โชตามระ กล่าวว่าเครื่องหอมแสดงถึงความโก้หรู ซึ่งมีตั้งแต่โลชั่น เพอร์ฟูม โคโลญจน์ และหัวน้ำหอมเพอร์ฟูม จากหนังสือ เครื่องหอมและของชำร่วย ของคุณ โสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้เขียนไว้ว่า จึงเป็นที่นิยมของคนชั้นสูงในขณะนั้นที่เรียกว่าเห่อของนอก และได้รับอิทธิพลสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
            เครื่องหอมของไทยนั้นมีหลากหลายชนิด ตามความเป็นไทย โดยการใช้วัสดุเครื่องหอม สมุนไพรซึ่งหาได้ภายในประเทศแต่ปัจจุบันเครื่องปรุงบางอย่างต้องปรุงจากต่างประเทศ การทำเครื่องหอมที่มีสูตรคล้าย ๆ กันแต่การปรุงแต่งให้มีคุณภาพขึ้นอยู่กับวิธีการและประสบการณ์ของผู้ปรุงการปรุงเครื่องหอมในสมัยก่อนจะมีกลิ่นหอมเย็นตามธรรมชาติ เนื่องจากได้มาจากกลิ่นหอมดอกไม้ เนื้อไม้ ยางไม้และชะมด โดยวิธีอบร่ำหลาย ๆ ครั้ง จนทำให้เกิดกลิ่นหอม เมื่อปรุงแล้นำมาใช้ดมใช้ทา ใช้อบเป็นเครื่องหอมบำรุงผิวเป็นอย่างดี บางชนิดสามารถใช้รักษาแก้อาการคัน และเกิดผดผื่นได้อีกด้วย ดังนั้นคนไทยจึงควรอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงนี้ให้ดำรงสืบไป ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่านำเข้าน้ำหอมจากต่างประเทศปีละหลายล้านบาทแล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมอาชีพของคนไทยด้วยกันอีกด้วย ซึ่งเป็นการแก้ไขเป็นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปอีกทางหนึ่งเช่นกัน

เครื่องหอมบำบัดสารสกัดจากธรรมชาติ

           

         เครื่องหอมถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้ใช้ทักษะการสังเกตและทดลองจากจุดเล็กๆ โดยเริ่มจากการดมกลิ่นดอกไม้ที่โชยกลิ่นหอมฟุ้งมาสัมผัสจมูกจนทำให้เกิดความพอใจและมีความสุข ในเริ่มแรกเดิมทีก็เพียงเด็ดดมแล้วทิ้งไป แต่ต่อมาก็นำเอาดอกไม้หอมเหล่านั้นมาประดับตามร่างกายพิศดูแล้วสวยงามและผู้ที่ประดับยังมีกลิ่นหอมตามกลิ่นดอกไม้อีกด้วย จากกลิ่นหอมที่เกิดจากดอกไม้เหล่านี้เอง มนุษย์ก็เริ่มสังเกตความหอมที่เกิดจากส่วนอื่นของต้นไม้เช่น ใบ เปลือก เนื้อไม้ ราก และยางของต้นไม้ และสังเกตต่อไปถึงกลิ่นหอมในตัวสัตว์ เช่น ชะมด ปลาวาฬ และตัวบีเวอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรู้จักสกัดเอาน้ำมันหอมจากพืชและสัตว์นำมาบรรจุใส่ภาชนะเพื่อเก็บรักษาไว้ให้นานขึ้น วิวัฒนาการจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งใช้เวลาเป็นพันๆปีกว่าจะเป็นเครื่องหอมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นด้วยความหลักแหลมของมนุษย์ยังคิดค้นสิ่งทดแทนธรรมชาติโดยการผสมผสานปรุงแต่งออกมาเป็นเครื่องหอมสังเคราะห์นอกเหนือจากที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา


         ความหมายของคำว่าเครื่องหอมตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2525:195)
ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
เครื่อง หมายถึง สิ่ง สิ่งของ สิ่งที่สำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน
หอมหมายถึง ได้รับกลิ่นดี กลิ่นหอม
เครื่องหอมหมายถึง สิ่งที่นำมาประกอบกันแล้วมีกลิ่นหอม
              ดังนั้นเครื่องหอมบำบัดสารสกัดจากธรรมชาติจึงมีความหมายว่าสิ่งที่มีกลิ่นหอมสามารถบรรเทารักษาอาการเจ็บไข้ได้และมีวัตถุดิบมาจากธรรมชาติ หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า สุคนธบำบัด ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่ว่า “Aromatherapy”
Aroma (อโรมา) แปลว่า กลิ่น, กลิ่นหอม (สุคนธา)
Therapy (เธราปี) แปลว่า การบำบัดรักษา
Aromatherapy (อะโรมา-เธราปี) หมายถึง การบำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นหอม


บทนำ

             
       
               ปัจจุบันเครื่องหอมไทยนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตซึ่งมีการปรุงแต่งอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่เครื่องสำอาง ของใช้ต่างๆ ซึ่งทุกคนมีความปรารถนาที่อยากได้ในส่วนนั้น ของทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากจะมีสีสันที่น่าหยิบน่าชมแล้ว กลิ่นก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่คนเราให้ความสนใจและหลงใหลมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
               เครื่องหอมของไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกวันนี้เครื่องหอมไทยถูกกลบเกลื่อนด้วยน้ำหอมจากต่างประเทศ และน้ำอมจากสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ แต่ในส่วนของเครื่องหอมไทยนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรจากธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ในด้านต่าง ๆ ตามสรรพคุณของสมุนไพรที่นำมาทำเครื่องหอมนั้น
              อย่างไรก็ตามเครื่องหอมไทยจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการนำไปใช้ของแต่ละบุคคล และรวมถึงการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับตัวพืชสมุนไพรที่จะนำมาทำเครื่องหอมให้ตรงกับความต้องการของตนเองหรือผู้ใช้