วิธีการทำเครื่องหอม
สามารถทำได้
3 วิธี คือ
การอบ การร่ำ และการปรุง
การอบ
หมายถึง การนำมาปรุงกลิ่นด้วยควัน หรือนำมาปรุงกลิ่นด้วยดอกไม้หอม
การอบให้มีกลิ่นหอมเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง กลิ่นหอมจะซึ่งเข้าไปในของที่นำไปอบ
โดยวัตถุที่ต้องการให้มีกลิ่นนั้น อยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท จะอบด้วยเทียนอบ
หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีกลิ่นแรง มักจะไม่ใช่ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเลี่ยน ๆ
หรือที่มีกลิ่นเปรี้ยว
1. การอบ
ดอกไม้มี 2 ชนิด คือ การอบน้ำ และการอบแห้ง
การอบน้ำ คือ การลอยดอกไม้บนน้ำ เช่น
อบน้ำสำหรับรับประทาน อบน้ำเชื่อมอบน้ำสรง
การอบดอกไม้บนน้ำควรปฏิบัติดังนี้
-
ไม่ควรนำดอกไม้ใส่ลงภาชนะให้เต็ม ควรเว้นที่ว่างไว้
เพราะกลิ่นของดอกไม้จะได้ลงถึงน้ำ
- ควรใช้ภาชนะที่มีลักษณะปากกว้าง
ตื้น มีฝาปิด เวลาอบใส่น้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ความหอมทั่วถึง
- ควรวางภาชนะให้เข้าที่เสียก่อนแล้วค่อยใส่น้ำ
เวลานำดอกไม้ลงลอยน้ำจะต้องนิ่งแล้วจึงลอยดอกไม้เบาๆ
ถ้าน้ำกระเทือนจะทำให้เข้าดอกไม้ช้ำได้
ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นเขียว ดอกไม้ประเภทที่มีกลีบบาง เช่น ชำมะนาด จันทน์กะพ้อ สารภี พิกุล ควรใส่จอกหรือภาชนะเล็กๆ ลอยไว้เพื่อป้องกันการเกิดกลีบดอกช้ำ
- ดอกไม้ที่ลอยน้ำ ควรลอยตามเวลาที่ดอกไม้บาน
ไม่ควรแช่ทิ้งไว้นานเพราะหัวน้ำหอมลงอยู่ใน
น้ำหอมแล้วการอบดอกไม้บางชนิด
อบได้นาน 6 – 8 ชั่วโมง เช่น กุหลาบมอญ พิกุล ลำเจียก
ชำมะนาด ราตรี ดอกแก้ว
พุทธชาด กระดังงา ดอกไม้บางชนิดลอยได้ ประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง เช่น
ดอกลำดวน ขจร
สารภี ส่าเหล้า กรรณิการ์ ฉะนั้น การลอยดอกไม้ควรลอยเวลาค่ำและนำขึ้น
ตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
- การลอยดอกไม้เพื่อให้กลิ่นหอม
ควรทำการศึกษาว่า ดอกไม้ชนิดใดบานในเวลาใด เช่น
- ดอกมีที่บานเวลาเช้ามืดจะส่งกลิ่นเวลาประมาณ05.00
– 06.00 น. คือ ดอกพิกุล ดอกสารภี
ดอกจำปาดอกสายหยุด
ดอกจันทน์กระพ้อ
- ดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น
เวลาประมาณ 18.00 น. ได้แก่ ลำเจียก มะลิ พุทธชาด ดอกส้ม ลำดวน
- ดอกไม้ที่บานเวลาค่ำ เวลาประมาณ 19.00 น. ได้แก่ ดอกชำมะนาด ดอกขจร ดอกกรรณิการ์
ฉะนั้น
ดอกไม่ที่ออกกลิ่นเวลาใด ต้องคอยอบเวลานั้น พอหมดกลิ่นรีบเอาออกก่อนที่ดอกไม้จะช้ำ
- ดอกไม้ที่จะนำมาอบถ้ามีต้น
ก็เกิดใช้ในเวลาที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าซื้อตอนเช้า เพราะยังพรมน้ำจาก
จะทำให้กลิ่นหอมของดอกไม้หมดไป
และดอกไม้จะช้ำ เรียกว่า ดอกไม้สำลักน้ำ
การอบแห้ง คือ
การวางดอกไม้ไว้บนขนมหรือสิ่งของต่างๆ ควรจะใช้ภาชนะเล็ก ๆ วางไว้บนของที่อยู่ในโถ ปิดให้สนิท การอบแห้งควรอบตามเวลาดอกไม้บาน
เมื่อถึงตอนเช้าควรเอาดอกไม้ออก ถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้กลิ่นเสีย
วิธีใช้ดอกกระดังงาดอกไม้ชนิดอื่นพอเก็บก็นำมาอบได้เลย
แต่ดอกกระดังงาจะต้องนำมาอบควันเทียนเสียก่อน บางครั้งรียกว่า “กระดังงาลนไฟ” จากหนังสือ เครื่องหอมและของชำร่วย
ของคุณโสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้กล่าวถึงวิธีการลนไฟไว้ว่า โดยใช้มือรวบปลายกลีบดอกแล้วนำคั่วดอกลนไฟให้ตายนึ่งเวลาจะปลิดกลีบดอกออกจากดอก
ใช้มือขับที่กระเปาะดอกให้กลับร่วงจะทำกลิ่นหอมแรงกว่าปลิดทีละกลีบ
แล้วฉีกแต่ละกลีบตามแนวยาว กลีบละ 2 – 3 เส้น การใช้เทียนอบ
เทียนอบใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้จะต้องจุดไส้เทียนให้ไหม้ถึงตัวเทียน
เนื่องจากกลิ่นหอมอยู่ที่ตัวเทียน เทียนอบที่ใช้แล้ว เก็บไว้นาน ๆ ไส้เทียนแข็ง
จะต้องจุดไฟก่อนเพื่อให้ไส้เทียนอ่อนตัว
การร่ำ หมายถึง การอบกลิ่นหอมหลายอย่าง และทำโดยภาชนะเผาไฟแล้วใส่เครื่องหอม
เพื่อให้เกิดควันที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมของยางไม้ กลิ่นน้ามัน
กลิ่นเนื้อไม้ ฯลฯ การร่ำเครื่องหอมต้องใช้ภาชนะที่สำคัญ คือ โถกระเบื้อง
การที่จะร่ำต้องใส่ทวนไว้ตรงกลางโถ นำตะคันเผาไฟให้ร้อน แล้วนำไปวางไว้บนทวน
การปรุง หมายถึง การรวมของหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน ในกรณีการปรุงเครื่องหอม คือ
การนำแป้งพิมเสน หัวน้ำหอม ชะมดเช็ด มาบดผสมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปปรุงกับน้ำอบไทย
หรือเครื่องหอมอื่น ๆ แต่มีข้อสังเกตตรงที่ว่าการที่จะใส่หัวน้ำหอมชะมดเช็ด
จะต้องบดแป้งนวล หรือแป้งหินเสียก่อนเพื่อให้แป้งซับน้ำมันให้หมดแล้วจึงนำไปผสมหรือกวนในน้ำต่อไป
เช่น การทำน้ำอบไทยจะต้องอบร่ำและปรุงจึงถือได้ว่าประสบความสำเร็จในการทำน้ำอบไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น